12 มกราคม 2554

Lecture#8 - 12 Jan 2011

Data Management
Needs of data management
                การบริหารจัดการข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากข้อมูลจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ และเราไม่ได้ต้องเก็บข้อมูลทุกอย่าง อีกทั้งองค์กรแต่ละองค์กรต่างก็มีข้อมูลกระจายอยู่ทั่วองค์กร ทำให้ข้อมูลจำนวนมากเหล่านั้นที่กระจัดกระจายอยู่ในแผนกต่างๆมีความซ้ำซ้อนกันได้ โดยการจัดการข้อมูลขึ้นอยู่กับพื้นฐาน 3 ประการได้แก่
1.       Security
2.       Quality
3.       Integrity
โดยเป้าหมายของการจัดการข้อมูลนั้น คือการพยายามสร้างระบบ database ให้ครอบคลุมพื้นฐาน 3 ประการที่กล่าวไปในขั้นต้น หากองค์กรมีระบบ databaseที่ดี ก็จะส่งผลให้องค์กรมีสารสนเทศที่มีคุณภาพสูง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น

Data Life Cycle Process
                วงจรของข้อมูลเริ่มจากการเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยชนิดของข้อมูลมี 3 ชนิด
1.       Internal data
ข้อมูลภายใน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร โดยเป็นข้อมูลในระดับ Transaction Processing System (TPS) การจัดการข้อมูลจากแหล่งกำเนิดมีความจำเป็น ข้อมูลเหล่านี้ควรจะถูกต้องครบถ้วน ตามแนวคิด Garbage-In, Garbage-Out
2.       External data
เป็นข้อมูลจากภายนอก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เราสามารถหาได้จาก Website ต่างๆ หรืออาจได้จากการซื้อขายข้อมูลก็ได้ เช่น ราคาสินค้า สภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น
3.       Personal data
ข้อมูลประเภทนี้เป็นข้อมูลที่เกิดจากองค์กรที่มี Transaction Processing System ที่ไม่ดี เช่น ในการทำงานบางครั้งนั้น หากพนักงานต้องใช้ Microsoft Excel มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง ก็จะทำให้ข้อมูลประเภทนั้นเรียกว่า Personal data
เมื่อเราเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆแล้วเราก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาเก็บไว้ที่ Database แต่เนื่องจากในองค์กรหนึ่งๆนั้นจะมี Database จำนวนมาก เช่น Supplier-Database, Customer-Database หากองค์กรต้องการจะวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นสูงๆนั้นก็จำเป็นจะต้องมีการ Cross functional เพราะถ้าเราใช้แค่ Database ระดับ TPS ก็จะเป็นไปแค่ตาม Functional ขององค์กรเท่านั้น รวมถึงการที่ Format ของ Database แต่ละอันมีความแตกต่างกัน องค์กรจึงต้องสร้าง Data Warehouse ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
หลังจากนั้นผู้ใช้ข้อมูลก็จะนำข้อมูลจาก Data Warehouse ที่ต้องการออกมาใช้เพื่อการวิเคราะห์ ซึ่งวงจรเหล่านี้จะนำไปสู่การตัดสินใจต่างๆ และเกิด Knowledge ขึ้นในองค์กร

Data Warehouse
                Data Warehouse เกิดจากการที่เรานำ Databaseต่างๆ มา Extract data โดยเลือกเฉพาะข้อมูลที่มีความจำเป็นและมีความเกี่ยวข้อง แล้วเราก็จะจัดการข้อมูลเหล่านั้นใหม่ จนทำให้เกิด Data Warehouse ขึ้นมา โดย Data Warehouse มีจุดประสงค์สำหรับ Analytical processing แต่อย่าไรก็ตามหากองค์กรที่ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง โดยใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะตน หรือประสบการณ์ส่วนบุคคล องค์กรนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมี Data Warehouse ก็ได้ นอกจากนี้สำหรับองค์กรขนาดเล็ก ที่ไม่มี Database จำนวนมากเกิดไป หรือปีหนึ่งๆองค์กรต้องวิเคราะห์ข้อมูลเพียงไม่กี่ครั้ง องค์กรเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องมี Data Warehouse เนื่องจากอาจไม่คุ้มในการลงทุน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น