21 ธันวาคม 2553

Lecture#7 - 21 Dec 2010


M-Commerce
การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านทางอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ wireless เช่น PDA, Smartphone
-Mobile Shopping : โดยทำธุรกรรมผ่าน Paypal, Ebay, Yahoo mobile, Shopwiki ฯลฯ
-Mobile banking : เช่น การเช็คยอดเงิน, โอนเงิน, จ่ายค่าสินค้าและบริการจากบริการที่ใช้, รับข้อมูลข่าวสาร, เติมเงินในโทรศัพท์มือถือ หรือการทำธุรกรรมต่างๆ แต่ผู้ใช้บางรายยังไม่เชื่อถือในความปลอดภัย แม้ว่าธนาคารจะมีระบบรักษาความปลอดภัยแล้วก็ตาม
-Information based service : ใช้ในการขายและเสนอสินค้าให้กับผู้ใช้
-Location based service : เช่น เวลาเราไปงานแสดงสินค้า เมื่อถึงสถานที่ก็จะมีการส่งข้อความเข้าหามือถือเรา เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ โดยการส่งข้อมูลจะขึ้นอยู่กับตำแห่งของผู้ใช้มือถือ
-Mobile travel information and booking : เช่นใช้ในการเช็คอินโรงแรม, จองตั๋วเครื่องบิน, การอ่านรีวิวต่างๆขิงที่พักและร้านอาหาร, การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและวิธีการเดินทาง
-Mobile marketing and advertizing

Value Added Attributed that Drive Development of M-Commerce
Ubiquity : สามารถเข้าถึงได้ทุกหนแห่ง เพราะอยู่ติดตัวกับเรา
Convenience : สะดวกเพราะสามารถต่ออินเทอร์เน็ตจากที่ไหนก็ได้ และมีแน้มโน้มที่จะกลายเป็นสาธารณูปโภค
Instant Connectivity : สามารถต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอเหมือนใช้คอมพิวเตอร์
Personalization : สีสัน, รูปแบบ, Software จะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เพราะไม่ต้องใช้ร่วมกับผู้อื่น
Localization : สามารถใช้ข้อมูลที่เป็นส่วนตัวได้ตามที่ที่เราอยู่
Widespread availability of mobile service : การใช้โทรศัพท์มือถือกระจายไปทั่ว มีผู้ใช้เยอะ
No need for PC : คนไม่ใช้คอมพิวเตอร์เต็มประสิทธิภาพ คนมักจะใช้แค่ในความสนใจของตนเอง บางครั้งใช้แค่มือถือก็พอแล้ว
Handset culture : คนยุคหลังๆเน้นใช้มือถือมากกว่าคนในอดีต เพราะชื่นชอบความรวดเร็วมากกว่า
Declining price, Increased functionalities
Centrio chip : Chip มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำงานได้มากขึ้น รวดเร็วขึ้น และกินไฟน้อยลง
Networks : มีเครือข่ายหลากหลาย เช่น 3G, 4G, Wi-Fi, LAN
The service Economy : เน้นการขายบริการ, Contentต่างๆ ไม่ใช่ตัวสินค้า เพราะลดต้นทุน สร้างยอดขาย มีกำไรที่เติบโตกว่า
Vendor’s push : Vendor ก็เน้นดำเนินธุรกิจโดยใช้รูปแบบ E-Commerce
Mobile workforce: ที่สถานที่ทำงานก็จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้

Mobile Computing Infrastructure
-WAP
-Markup languages : WML, XHTML
-Mobile development : Net compact, Java ME, Python, HTML5
-Microbrowser : Andriod, Safari, IE mobile, Firefox mobile
-Other : Bluetooth, GPS, Wi-max


14 ธันวาคม 2553

Lecture#6 - 14 Dec 2010

E-business/E-commerce
การใช้ระบบสารสนเทศมาช่วยในการค้าขาย ทั้งด้าน supply chain, การแลกเปลี่ยนข้อมูล ฯลฯ ไม่ใช่ใช้แค่การขายของเท่านั้น เช่น dell.com ที่ขายคอมพิวเตอร์ทางอินเทอเน็ต โดยขายในรูปแบบ build-to-order โดยมักจะขายให้กับลูกค้าองค์กร และได้ทำแคตตาล็อกส่งไปตามบ้านเพื่อให้คนเข้าไปใช้อินเทอเน็ตเพื่อให้คนซื้อของ
บริษัท Dell ใช้ระบบ Requiry Electronic ในการจัดการด้าน Supply chain เพราะลูกค้าส่วนมากของ Dell ยู่ในประเทศ US ส่วนชิ้นส่วน Electronic ที่ใช้ประกอบนั้น ผลิตที่จีน Requiry Electronic จึงช่วยให้ Dell ผลิตสินค้าได้ทันเวลา
ส่วนด้าน Customer service ของ Dell จะอยู่ที่ประเทศอินเดีย โดยใช้ระบบสารสนเทศช่วย แต่ปัจจุบัน Dell ได้ย้าย Customer service มาที่ US แล้ว
นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ทำธุรกิจผ่านทางอินเทอเน็ตอีก เช่น e-bay, amazon, facebook

E-Commerce Business Model
·        Affiliate marketing เช่น performics.com
·        Deep discounter เช่น half.com
·        E-classifields เช่น craiglist.com
·        Find the best price เช่น hotwire.com
·        Name your own price เช่น priceline.com

API : Application Programming Interface
คือการที่บริษัทผลิต service อะรบางอย่าง แล้วจะปล่อยให้ บริษัทอื่นนำไปพัฒนา และนำมาใช้กับ service ของบริษัทได้ เช่น Apple แชร์ source code ให้กับลูกค้า เพื่อให้เอาไปพัฒนา software, application ต่างๆ แล้วนำกลับมาขาย
นอกจากนี้ก็ยังมีบริษัทที่ทำ API อีก เช่น Youtube, PayPal, GoogleMaps, Four Square

Benefit of E-commerce
Organization
·        ติดต่อลูกค้าสะดวกมากยิ่งขึ้น
·        ขายของได้มาขึ้น เป็นการขยายฐานลูกค้า เช่น การขายสินค้าไปยังภูมิภาคอื่น
·        ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้
Customer
·        สามารถซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
·        ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าโดย customize เองได้
Society
·        ทำให้คนมีเวลาทำอย่างอื่นมากขึ้น
·        ช่วยให้ราคาสินค้าต่ำลง ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

Limitation of E-commerce
·        Standard ของผู้บริโภคต่างกันบางทีอาจทำงานร่วมกันไม่ได้ ทำให้เข้าถึงสินค้าลำบาก
·        Security ในกรณีที่ต้องใช้บัตรเครดิต แล้วอาจมี Hacker เข้ามา Hack เค้าก็จะได้ข้อมูลผู้ใช้ไปทั้งหมด

Social Commerce/Social Shopping
การที่คนเราซื้อของ เราก็มักจะหาข้อมูลออนไลน์มาก่อนที่จะซื้อ เราก็จะมองหาคำปรึกษาจากคนอื่น คือ จากเพื่อน, Magazine, TV สามทางนี้ คนมักจะเชื่อเพื่อนมากที่สุด โดย Facebook ซึ่งเป็น Social network หากสามารถกลายเป็น Search Engine ได้เมื่อไหร่ ก็จะทำให้เกิด Social Commerce ได้ด้วย

E-Catalogs
การทำแคตาล็อกออนไลน์ให้ลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกของได้ เช่น JCPenny

E-Auction
การให้ผู้ใช้สามารถประมูลออนไลน์ได้ เช่น e-bay, ubid ซึ่งไม่ใช่แค่การประมูลของลูกค้าเท่านั้น แต่บริษัทอาจนำสินค้าที่ตกรุ่น หรือ overstock มาขาย เพราะเชื่อว่าเอามาให้ประมูลจะได้ราคาสูงกว่าการเอาไปขายลดราคา

Bartering & Negotiation
                เป็น website สำหรับการนำสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน เช่น Swap.com โดยสินค้าที่นำมาแลกไม่จำเป็นต้องนำสินค้าประเภทเดียวกันมาแลกกัน เช่น หนังสือสามารถนำมาแลกกับซีดีก็ได้

Customer Service Online
เช่นการบริการผ่านเว็บไซต์เกี่ยวกับ FAQ, CHAT ซึ่งเป็นบริการที่ให้ลูกค้าก่อนที่จะคุยกับแผนกบริการลูกค้า เช่น TRUE, AIS

Electronic Malls
สร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภคให้เหมือนอยู่ที่ Mall จริงๆ แต่ทำบนออนไลน์ เช่น นอกจากร้านค้าแล้วก็ยังมีมุมนั่งพัก มีภาพยนตร์ให้ดู เป็นต้น

Online Job Market
บริษัทจัดหางานทางอินเทอเน็ต เช่น Monster, Dice, Jobcentral

Travel Service
ธุรกิจท่องเที่ยวนำระบบสารสนเทศมาใช้เกี่ยวกับ Supply chain ทั้งด้านยานพาหนะ เช่น ตั๋วเครื่องบิน นอกจากนี้ก็จะมีทั้ง โรงแรม ทัวร์ รถเช่า ร้านค้า ซึ่งธุรกิจท่องเที่ยวนี้ เป็นธุรกิจที่มี Supply chain เยอะมาก เช่น Travelocity, Expedia นอกจากนี้ธุรกิจการท่องเที่ยวก็ต้องต้องให้ความสำคัญด้าน review ด้วย เพราะลูกค้าจะให้ความสนใจกับเรื่องนี้เป็นสำคัญ

8 ธันวาคม 2553

Lecture#5 - 8 Dec 2010

Productivity Paradox
                ในการลงทุนอะไรสักอย่าง เราก็มักจะคาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทนคืนมาอย่างน้อยก็เท่ากับที่ลงทุนไป แต่ในความจริงแล้วอาจไม่สามารถเป็นได้ตามที่คาดหวังมากนัก เราคิดว่าคอมพิวเตอร์มีความสามารถมากขึ้น แต่จริงๆและ productivity ก็อาจไม่ได้เพิ่มเท่าที่เราคิดไว้ เช่น การลงทุนใน Information Technology แล้วไม่สามารถแสดงได้ว่ามียอดขายเพิ่มขึ้น เพราะเราไม่รู้ว่า productivity ไปอยู่ตรงส่วนไหน

Possible Reasons for the Productivity Paradox
·        Productivity gains are not shown in data or analysis
เนื่องจากเราไม่สามารถระบุหรือวัด Productivity จากการลงทุนนี้ได้
·        Productivity gains are offset by losses from the same IT in other areas
เช่น ฝ่าย IT มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ฝ่าย marketing กลับมีรายได้ลดลง ก็ทำให้ offset ได้
·        Productivity gains are offset by high costs
เนื่องจาก IT บางโครงการอาจมีต้นทุนที่สูงมาก
·        Time lag may distort the picture
เช่น การลงทุนในวันนี้อาจได้ผลตอบแทนกลับคืนมาในอีก 5 ปี

Possible Reasons for the Productivity Paradox
                เราควรจะมอง Information Technology Project ในระดับองค์กร ไม่ได้มองแค่ว่า Information Technology ที่เราจะลงทุนนั้นประหยัดที่สุดหรือไม่ คุ้มที่สุดหรือไม่ แต่จะต้องดูว่า Information Technology นี้เหมาะสมกับองค์กรของเราหรือไม่ โดยจะต้องระบุและพิจารณา Direct impact ต่างๆ เช่น Direct cost saving, Revenue generation, major organizational change ซึ่งองค์กรจะต้องประเมินทั้งด้าน ต้นทุน และประโยชน์ที่จะได้รับอย่างเหมาะสม

Evaluating IT Investments
·        Why justify IT investment?
สาเหตุที่เราต้องเลือกเพราะองค์กรมีทรัพยากรจำกัด และการลงทุนใน IT ก็จำเป็นจะต้องใช้ทรัพยากรเช่นกัน และการลงทุนล้วนต้องการผลตอบแทน จึงต้องมีการ Justify โครงการต่างๆ

IT Justification Process
·        Lay an appropriate foundation for analysis, and then conduct your ROI.
·        Conduct a good research on metrics & validate them.
·        Justify, clarify, and document the costs and benefits assumptions.
·        Document and verify all figures used in the calculation and include risk analysis.
·        Is the project really bolstering the company’s competitive and strategic advantage?
·        Not to underestimate costs and overestimate benefits
·        Commit all partners, including vendors and top management.

Projects which no need to justify or cannot justify
·        โครงการที่มีเงินลงทุนน้อยมาก
·        โครงการที่เป็น Infrastructure
·        โครงการที่กฎหมายบังคับให้ต้องลงทุน
·        โครงการที่เรามีข้อมูลในการตัดสินใจไม่เพียงพอ
·        โครงการที่ผู้บังคับบัญชากำหนดว่าต้องลงทุน

Difficulties in Measuring Productivity & Performance Gains
·        ไม่สามารถวัด Productivity ได้ แต่สามารถแก้ปัญหาได้บ้างโดยใช้ BSC หรือการกำหนด KPI
·        Time lags
·        ไม่สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่าง IT investment กับ Organizational performance ได้
·        Intangible Benefits
Handling Intangible Benefit : ซึ่งอาจจะใช้วิธีวัดโดยใช้ Likert scale, การประเมินแบบคร่าวๆ, หรือดูว่ามีความเกี่ยวข้องกับ strategy ขององค์กรอย่างไรบ้าง รวมถึง indicator ต่างๆ เช่น ลูกค้ามีความซื่อสัตย์กับองค์กรมากขึ้น แต่จะต้องระวัง เพราะเราไม่ควรประเมินสูงไป หากเราประเมินสูงไป จะทำให้ผลออกมาว่าเราต้องลงทุนแน่ๆ แต่เมื่อผลตอบแทนออกมาก็จะไม่เหมือนกับที่คาดไว้ นอกจากนี้ เราควรจะมองผลที่จะได้รับในระยะสั้นก่อน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่เราจะได้มาชัวร์ๆ

Cost-Benefit
·        Cost
-Development costs เช่น การจ้างคนในการพัฒนาไม่ว่าจะเป็น in-house หรือ outsource
-Setup costs
-Operational costs เช่น ค่า Operate ระบบ, ค่าไฟ
·        Benefit
Direct benefits เกิดจากการ Operate ระบบโดยตรง เช่น ทำงานเร็วขึ้น, ต้นทุนลดลง
Assessable indirect benefits เช่น Operate ระบบแล้วลด Error ที่เกิดขึ้น
Intangible benefits

Cost-Benefit Evaluation Techniques
·        Net profit
ผลต่างระหว่างต้นทุนและรายได้ทั้งหมดตลอดอายุโครงการ
·        Payback period
ระยะเวลาที่จะทำให้ได้รับเงินลงทุนกลับคืนมา
·        Return on investment (ROI)
การเปรียบเทียบกำไรสุทธิกับเงินลงทุนทั้งหมด โดยคิดเป็นร้อยละ
·        Net present value (NPV)
·        Interest rate of return (IRR)